วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ ดังนี้
     1. วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง
     2. วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือฝึกอบรมวิชาชีพทาง การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
     3. ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินกาปฏิบัติ
การสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด

มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
     มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูเสมอ
     มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผล ที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
     มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
     มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
     มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
     มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
     มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
     มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
     มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
     มาตรฐานที่ 10 ความร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
     มาตรฐานที่ 11 แสวงหาการใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
     มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์




เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู 6.

มาตรฐานวิชาชีพครู
            แนวทางการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วโดยเฉพาะ การควบคุม และรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพเป็นเรื่องที่เพิ่มจะกำหนดให้มีการดำเนินงานครั้งแรกในวิชาชีพครู โดยกำหนดให้มีการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ

            มาตรฐานวิชาชีพครู เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครูโดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบ วิชาชีพคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ตาม พ.ร.บ. ครู พ.ศ. 2488 ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน กล่าวคือ

1. มาตรฐาน ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
2. มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติงาน
3. มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติตน




เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู 5.

การสร้างทัศนคติที่ดีต่ออาชีพครู

             เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู อาจครอบคลุมถึงความรู้สึกหรือมีศรัทธาต่องานการสอนและ กิจกรรมที่ทำการสร้างสมรรถภาพความเป็นครู

     1. ปฏิบัติตนและพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ยึดมั่นอยู่ในคุณงามความดี ความถูกต้อง และความชอบธรรม
     2. พัฒนาตนให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญในการปฏิบัติงาน มีความคิดที่ทันสมัย และรู้จักปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ


เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู 4.

คุณลักษณะที่ดีของครู
                1. ความมีระเบียบวินัย ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ 
                2. ความซื่อสัตย์สุจริต การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
                3. ความขยัน ประหยัด  และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม 
                4. ความสำนึกในหน้าที่และการงาน ความประพฤติที่ไม่เอาเปรียบสังคม
                5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล  ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือ
จากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
                7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์   ทั้งทางร่างกายและจิตใจ  ความมั่นคงและจิตใจ ให้สมบูรณ์
มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
                8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และมีอุดมคติเป็นที่พึ่งความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น 
9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุง ศิลปะ วัฒนธรรม     และทรัพยากรของชาติ ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
                10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคี

เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู 3.

การพัฒนาวิชาชีพของครู หมายถึง  กิจกรรมใด ๆ ในระหว่างการปฏิบัติงานของครู  ทั้งที่เป็นไปตามแผนหรือครูริเริ่มเอง  ในการปรับปรุงความรู้  ทักษะและเจตคติที่มีเป้าหมาย  เพื่อให้ครูมีพัฒนาการทางวิชาชีพ


คุณลักษณะที่ดีของครู
                1. ความมีระเบียบวินัย ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและใจ 
                2. ความซื่อสัตย์สุจริต การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
                3. ความขยัน ประหยัด  และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ ความประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม 
                4. ความสำนึกในหน้าที่และการงาน ความประพฤติที่ไม่เอาเปรียบสังคม
                5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล  ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา
พระมหากษัตริย์ ความประพฤติที่สนับสนุนและให้ความร่วมมือไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือ
จากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
                7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์   ทั้งทางร่างกายและจิตใจ  ความมั่นคงและจิตใจ ให้สมบูรณ์
มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
                8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง และมีอุดมคติเป็นที่พึ่งความประพฤติที่แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น 
9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุง ศิลปะ วัฒนธรรม     และทรัพยากรของชาติ ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมของตนเองและทรัพยากรของชาติ
                10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคี


เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู 2.

บทบาทและหน้าที่ของครู
                ครูนับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติเพราะครูมีหน้าที่ต้องพัฒนาคน   พัฒนาความคิด  พัฒนาความรู้   และพัฒนาคุณธรรม  จริยธรรมให้แก่เยาวชนของชาติดังนั้นจึงได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของครูไว้ดังนี้
                1.  ครูจะต้องเป็นนักวิจัย 
                2.  ครูต้องเป็นนักวิเคราะห์ 
                3.  ครูต้องเป็นนักวิจารณ์ทั้งปัญหาของตนเอง 
4.  ครูจะต้องมีความสามารถนำคุณค่าของบทเรียนมาเป็นตัวเชื่อมโยงผสมผสานให้เกิดการแก้ไขปัญหาในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ

ภาระงานของครู/อาจารย์ หมายถึง งานในหน้าที่ความรับผิดชอบ กรอบภาระงานของครู/อาจารย์ แบ่งออกเป็น 7 ประเภท คือ
1. งานการผลิตบัณฑิต / ผู้เรียน
2. งานวิจัยและสร้างสรรค์วิชาการ
3. งานบริการทางวิชาการ
4. งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
5. งานกิจการของผู้เรียน
6. งานบริหารและบริการ
7. งานเฉพาะกิจ (งานที่สถาบันมอบหมายให้ปฏิบัติ) 

เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู 1.

            วิชาชีพครู คือ บุคคลที่สั่งสอนอบรมวิชาความรู้ต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้วครูจะต้องคอยดูแลเอาใจใส่ต่อสุขทุกข์ของศิษย์ ความเจริญก้าวหน้าของศิษย์และคอยปกป้องมิให้ศิษย์กระทำความชั่วต่าง ๆ อีกด้วย นอกจากนั้นครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อสังคมและประเทศชาติอย่างยิ่งเพราะครูเป็นทั้งผู้สร้าง และผู้กำหนดอนาคตของเยาวชน สังคมและประเทศชาติ ให้พัฒนาไปในทิศทางที่ต้องการและถูกต้อง

            มาตรฐานวิชาชีพครู คือ เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบ

            มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา คือ ข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ และคุณภาพที่พึงประสงค์ในการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่น